มือเพอร์คัสชั่นหลายๆ คนคงเคยน้ำตาตกใน ที่เวลาขน “ไอ้นี่” ออกไปเล่นทีไร ทุกคนจะคิดว่าเราไปออกค่ายลูกเสือทุกที ไอ้การที่นักดนตรีชนิดอื่นขนของขึ้นแท็กซี่แล้วเจอคนขับแท็กซี่ที่ฟังเพลงแนวเดียวกันนี่คงตื่นเต้นแล้ว สำหรับมือเพอร์คัสชั่นที่ขึ้นแท็กซี่แล้วแท็กซี่รู้ว่าเครื่องที่เราเล่นมันไม่ได้เรียกว่ากลองสันทนาการนี่ถือเป็นลาภอันประเสริฐพอสมควรเลยเชียว กระซิก กระซิก… );
เพื่อไม่ให้มือเพอร์ต้องทุกข์ระทมกันไปมากกว่านี้ เรามาทำความรู้จัก “ไอ้นี่” กันดีกว่าค่ะ
1) ไม่ได้ชื่อ กลองลูกเสือ กลองสันทนาการ แต่มีชื่อว่า “คองก้า”
ที่เห็นหน้าตาเหมือนกลองลูกเสือหรือกลองสันทนาการจนเรียกกันติดปาก จริงๆ เป็นเครื่องดนตรีประเทศคิวบา มีชื่อเท่ๆ ว่า “คองก้า” ค่ะ
2) ห้ามใช้ไม้ตีเด็ดขาด!!!
ธรรมชาติของคองก้า เป็นเครื่องดนตรี ที่ใช้ “มือ” ตีค่ะ การใช้ไม้ตีจะทำให้หนังคองก้าเสื่อมไว จากที่เห็นหนังใสๆ จะค่อยๆ กลายเป็นสีขุ่น อันที่เค้าใช้ตีกลองลูกเสือตีไปค่ะ แต่อย่ามาตีของเรา หนังใบนึงราคา 2-3 พันนะคะ! และถ้ายังไงเอ็งก็จะเอาไม้ไปตีให้ได้ เอ็งก็จะถูกมือเพอร์ตีหัวเอ็งแทนค่ะ
แอบแทรกรูปตัวเองแบบสวยๆ ฮ่าๆๆๆๆๆ ถุ๊ย~!
3) ไม่ได้อยู่แต่ในเพลง ลูกทุ่ง ลูกกรุง หรือ เรกเก้ สกา
หลายๆ คนที่รู้จักคองก้า มักจะคิดว่าคองก้าเป็นเครื่องดนตรีสำหรับเล่นเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง หรือเพลงเรกเก้ สกา เท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เลย คองก้าอาจจะอยู่ในเพลงสไตล์ไหนก็ได้ เป็นเครื่องดนตรีที่ช่วยสร้างสีสันให้เพลงได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะแนว Funk อาจจะได้ยินกันบ่อย อย่างวง Groove Riders หรือ Crescendo ชุดแรกๆ เองก็เป็นวงที่ขาดเพอร์คัสชั่นไปไม่ได้เลย ทั้งนี้วงสไตล์อื่นก็ยังมีมือเพอร์คัสชั่นอยู่ในวงด้วย
อย่างพี่ดาไม่ได้ร้องเพลงลูกกรุง พี่ดา เอ็นโดรฟิน มีมือเพอร์ (หล่อด้วยแน่ะๆ)
พี่ปอนด์ มือเพอร์ฝุดเท่
พี่ป๊อบ ปองกูล ไม่ใช่วงสายพืช (เรกเก้ สกา) แต่พี่ป๊อบมีมือเพอร์คัสชั่น (นี่ก็เฟี้ยว)
พี่ Knot the Tap มือเพอร์สุดเมพ
(ในคลิปคือคองก้าที่ถูกดัดแปลงมาอีกรูปแบบนึงค่ะ)
วง The Yers ไม่ใช่วงลูกทุ่ง แต่ข้างๆ มือคีย์บอร์ด คือคองก้า?! (ร็อกป้ะล่ะ) ลองสังเกตวินาทีที่ 1.46-2.02 ดูค่ะ
4) หนึ่งใบ ตีเบสิกได้ 7 เสียง
เห็นหน้าตาแบบนี้ปุ๊บ ทุกคนจะต้องนึกภาพ “ตึ่งโป๊ะ ตึ่งตึ่ง ปะโล้งโป๊งๆ ชึ่ง” ใช่ป่ะล่ะ แต่จริงๆ แล้วศาสตร์ของการตีคองก้านี้ มี Basic ที่ใช้มือตีต่างรูปแบบ และต่างส่วนของหนังกลองให้ออกมาเป็นเสียงพื้นฐานได้ถึง 7 แบบ!
ลองไปฟังเสียงและดูภาพประกอบการตีกันได้ที่คลิปนี้เลย
5) ไม่จำเป็นต้องเล่น 2 ใบ
ปกติแล้วเรามักจะเห็นกลองสัน เอ้ย! คองก้า มากันเป็นคู่ แต่อย่างที่บอกไปข้อที่แล้ว ว่าใบนึงตีได้ 7 เสียง ดังนั้นไม่จำเป็นว่าเราจะต้องมี 2 ใบคู่กันไป เพียงแค่ใบเดียวก็สร้างสีสันให้เพลงได้ประมาณนึงแล้ว หรือถ้าใครอยากได้เสียงโทนที่ต่างกันไปอีก คองก้าก็ถูกผลิตออกมาหลายขนาด ให้ขยายวงเพอร์ของเราได้ยิ่งใหญ่ เท่าที่ตังค์เราจะไปถึง อย่าง Giovanni Hidalgo มือเพอร์ระดับเมพๆ ของโลก เฮียแกก็มีเซ็ตเพอร์คัสชั่นชุดเบ้อเริ่ม แต่ก็ตีได้เผ็ดมันเว่อ ลองไปดูได้ที่คลิปนี้ค่ะ
นี่แค่ 5 ข้อเหนาะๆ เท่านั้น เรื่องราวลึกๆ ของเพอร์คัสชั่นยังมีอีกมากมายที่เราจะมาแชร์ร่วมกันอีกในอนาคต มือเพอร์คัสชั่นคนไหนอยากจะแชร์ประสบการณ์ส่วนตัว หรือเรื่องราวดีๆ ที่มือเพอร์คัสชั่นคนอื่นน่าจะรู้ไว้ สามารถติดต่อมาทางฟูฟูได้เช่นกันค่ะ
หวังว่าทุกคนจะได้ทำความรู้จักกับเจ้า “คองก้า” มากขึ้นนะคะ 🙂
อ่านต่อเรื่อง ทำไม “ไอ้นี่” ถึงถูกเรียกว่าคองก้า ได้ที่ : https://www.foofoo.me/whyconga