บทสัมภาษณ์โดย David A. Brensilver
เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทาวาโกลีและวง Raining Jane ปล่อยอัลบัมชื่อ Yes! ที่แต่งและอัดเสียงร่วมกับ เจสัน มราซ (ทาวาโกลีเริ่มร่วมงานกับ เจสัน มารซ ในปี 2012 โดยเล่นคาฮอนในโปรเจค Due Decibel System และร่วมเล่นในฐานะมือเพอร์คัสชั่นของวงดนตรีสิบชิ้นของ เจสัน มารซ ตั้งแต่นั้นมา) คาฮอนเป็นเครื่องดนตรีหลักของทาวาโกลีตั้งแต่เธอมีโอกาสได้เล่นที่มหาวิทยาลัย UCLA
จากที่ได้เรียนดนตรีแอฟริกันตะวันตกและได้ศึกษาการตีเจมเบ้ (Djembe) หลังจากนั้นทาวาโกลีก็เริ่มเรียนเต้นฟลามิงโก แต่นั่นกลับทำให้เธอมีอาการเจ็บที่หัวเข่า – “เพราะต้องกระทืบเท้าบ่อยๆน่ะ” – เธอจึงถามอาจารย์ผู้สอนว่า “เฮ้ ฉันเป็นมือกลอง มีอะไรที่ฉันจะช่วยคลาสนี้ได้อีกมั้ย”
“เดี๋ยวฉันเอากล่องมาให้แล้วกัน” อาจารย์ของเธอพูด กล่องที่ว่านั้นคือคาฮอน
ก่อนหน้านั้นทาวาโกลีเคยเล่นแต่กลองชุด “กลองชุดเป็นเครื่องดนตรีหลักของฉัน จนกระทั่งวันที่ฉันเริ่มเล่นคาฮอนในวิชาเต้นฟลามิงโกที่มหาวิทยาลัย” เธอพูด “วันที่ฉันนั่งบนคาฮอนวันแรก มันรู้สึกใช่เลย รู้สึกเป็นธรรมชาติมาก”
Credit : http://dubsahara.com/oriental/instruments/percussion/zills
หลังจากเริ่มเล่นคาฮอน ทาวาโกลีจำได้ว่าอาจารย์เธอเคยพูด “โอเค หลังจากนี้ก็แค่เล่นคาฮอนจังหวะเดียวกับมือกีตาร์เท่านั้นเอง””เพราะฉันเรียนเต้นมาแล้ว – จังหวะ alegrias กับ bulerias – มันก็เลยง่ายสำหรับฉัน เรียกได้ว่าฉันเริ่มเรียนคาฮอนมาจากดนตรีฟลามิงโก” เธอพูด “ฉันแทบจะเต้นบนคาฮอนเลยล่ะ”
ในเวลาที่เธอเรียนคาฮอนนั้นคือช่วงครึ่งหลังของยุค 90 ซึ่งมีคนเล่นคาฮอนในอเมริกาน้อยมาก ทำให้การเรียนอย่างถูกแบบแผนเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่เธอก็ไม่ได้ท้อ เพราะเธอเองก็ไม่ได้เรียนกลองชุดมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวอยู่แล้วแต่แรก และด้วยความกระตือรือล้นอย่างไร้ขอบเขตนี้เอง เธอจึงได้พัฒนาเทคนิคที่ทำให้เธอเล่นดนตรีได้ทุกรูปแบบ ถึงแม้การเล่นคาฮอนเป็นสิ่งที่เธอถนัดที่สุด แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าเธอรู้สึกผิดธรรมชาติเวลาเล่นกลองหรือเครื่องเพอร์คัสชั่นอื่นๆแต่อย่างใด
สมัยมัธยมปลาย เธอเล่นในวงออร์เครสตราและวงมาร์ชชิ่ง (เล่นกลองควอต) เมื่อเธอออดิชั่นเข้าวงมาร์ชชิ่งที่มหาวิทยาลัย UCLA เธอกลับถูกสั่งให้ไปเล่นฉาบ ซึ่งเธอไม่อยากเล่น
“ฉันก็เลยพยายามคิดดูว่า จะทำอย่างไรให้ฉันยังสามารถเล่นกลองอยู่ได้ เพราะยังไงฉันก็เอากลองชุดไว้ในหอไม่ได้” เธอพูด และเป็นที่มหาวิทยาลัย UCLA ในปี 1999 นี้เองที่เธอพบกับ Mai Bloomfield, Becky Gebhardt และ Chaska Potter และได้รวมตัวกันเป็นวง Raining Jane ในช่วงแรกทาวาโกลีเล่นกลองชุดให้กับวง และไม่ได้เอาคาฮอนมาเล่น (ซึ่งในช่วงนั้น เธอก็จะเซตกลองสองชุดบนเวทีเลย) กับวงจนกระทั่ง 2-3 ปีให้หลัง เมื่อวง Raining Jane ออกทัวร์ในปี 2009 ในฐานะวงเปิดของ Sara Bareilles ทาวาโกลีก็เลิกเล่นกลองชุด หลังจากนั้นเมื่อเธอเข้าร่วมกับวงของ เจสัน มราซโดยเล่นคู่กับมือกลอง Michael “Leroy” Bram ทาวาโกลีก็พบว่าเธออยากเล่นเพอร์คัสชั่นมากกว่ากลองชุดเสียอีก
“อยู่ดีๆฉันก็มาอยู่ในวงที่ต้องการเสียงสูง เสียงกลาง แต่ไม่ต้องการเสียงกระเดื่องกับสแนร์ ฉันเลยต้องนึกว่าจะเอาเสียงอุ่นๆที่อยากได้นี้มาจากไหนดี เพราะบางเพลงฉันก็ต้องนั่งเล่นคาฮอน มันเลยมีบางเพลงที่ฉันจะลุกขึ้นแล้วเล่นแค่แทมโบรีนและร้องคู่ไปด้วย บางทีฉันก็ลุกไปเต้นเลย มันสนุกมาก ฉันสร้างจังหวะไปด้วย และในขณะเดียวกันฉันก็มีส่วนช่วยให้เพลงมีความเป็นดนตรีมากขึ้น ฉันรู้สึกเป็นอิสระมาก”
ทาวาโกลีใช้ความได้เปรียบจากการที่ไม่ต้องนั่งเล่นอยู่กับที่ ในเพลงของเจสัน มราซ อย่างเพลง “I’m Yours”
“พวกนาย ฉันสะพายเจมเบ้แล้วยืนเล่นเลยได้มั้ย?” เธอถาม และนั่นจุดเริ่มของการตั้งกลองตามแบบปัจจุบันของเธอ ซึ่งเธอมักจะเพิ่มเครื่องดนตรีเสริมเช่นแพดไฟฟ้าของ Roland หรือเครื่อง Marxophone เข้าไปด้วย
ทาวาโกลีใช้ฟลอร์ทอมกับสแนร์เพื่อสร้างเสียงที่คล้ายคาฮอน “ฉันใช้มือขวาตีฟลอร์ทอม ซึ่งฉันก็ใช่มือนี้สำหรับโน๊ตเบสของคาฮอนอยู่แล้ว” เธออธิบาย “และฉันใช้มือซ้ายตีสแนร์ ซึ่งฉันก็ใช้มือนี้ตีเสียงแหลมจากคาฮอนอยู่แล้วเหมือนกัน ดังนั้นมันก็เหมือนฉันทำซ้ำกับสิ่งที่ฉันทำอยู่แล้วบนคาฮอนนั่นแหละ – แต่ยืนเล่น”
เสียงที่ทาวาโกลีได้จากฟลอร์ทอมกับสแนร์ ส่วนหนึ่งมาจากไม้กลอง และไม้ mallet ที่เธอใช้ “อาวุธลับที่ฉันใช้ช่วงนี้คือไม้นี่ – ฉันเซ็นสัญญากับไม้กลอง Vater แล้ว พวกเขาเจ๋งมาก ส่งไม้มาให้ฉันลองเต็มไปหมดเลย ฉันเลยเอา “cajon brush” ของเขามาพันกับไม้ mallet ขนาด T6 หรือ T7″ ทาวาโกลิพูด โดยเธอตั้งชื่อไม้ใหม่ของเธอนี้ว่า “แฟรงเก้นสติ๊ก””ฉันใช้ไม้กลองนี้เพื่อให้ได้เสียง resonance เน้นๆจากฟลอร์ทอม แต่ในขณะเดียวกันก็ได้เสียงบรัชคล้ายๆไฮแฮทติดมาด้วย ดังนั้นฉันก็เลยพันสองไม้นี้ติดกันไปเลย และฉันก็ใช้ cajon brush (ของ vater) นี้บนสแนร์เพราะมันหนักดี ทำให้ฉันได้เสียงหนักๆจากสแนร์มากขึ้นหน่อย แต่ก็ยังได้เสียงบรัชสากๆมาด้วย” เธอพูด “ฉันสนุกมากตอนทดลองว่าบรัชไหนจะให้เสียงดีสุด ในอัลบัมใหม่นี้ (ของ เจสัน มราซ – ผู้แปล) ฉันใช้ cajon brush ไปทั่วเลย”
Kotz “MT Box” signature ของ โมนา ทาวาโกลี
Credit : http://tonecajon.com
สายสตริง 4 สาย
Credit : http://tonecajon.com
Kotzen และทาวาโกลีสร้างคาฮอนต้นแบบนี้ในปี 2009 และทำงานออกแบบเสร็จในปีต่อมาก่อนจะวางขายในตลาด สิ่งที่เธอชอบมากจากคาฮอนตัวนี้คือมันเป็นกลองที่พอดีในตัวของมันเอง
“มันเป็นทั้งเก้าอี้กลอง และฉันก็สร้างทุกเสียงที่อยากได้จากมัน” เธอพูด “ฉันสามารถทำเสียงกระเดื่องได้ เสียงสแนร์ได้ พอเอาเท้าวางบนหน้ากลอง ฉันก็ได้เสียงทอมอีก”
วิธีการเล่นดนตรีของทาวาโกลีทำให้เธอเป็นคนช่างเลือกอุปกรณ์ การเล่นของเธอในอัลบั้ม Yes! ของ เจสัน มราซ มีสีสันมาก กลั่นกรองความเป็นเครื่องประกอบได้ดี ทั้งนี้ แทบจะไม่มีเสียงฉาบเลยในอัลบั้มนี้ แต่นี่ไม่เกี่ยวอะไรกับช่วงชีวิตมหาวิทยาลัยที่เธอไม่อยากเล่นฉาบ
“เอาจริงๆนะ สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกคือกรูฟ” ทาวาโกลีพูดถึงวิธีการอัดอัลบั้มใหม่ของเธอ “ฉันอยากให้แกนหลักของเพลงมาก่อน แล้วค่อยดูว่าเพลงมันต้องการอะไรหลังจากนั้นอีก แต่เอาจริงๆฉันอยากให้ในแพลงมันมีแค่แกนหลักเลยน่ะ”
การเล่นของเพื่อนร่วมวง Raining Jane ในอัลบั้มใหม่นี้ก็สวยงามไม่แพ้กัน เครื่องดนตรีที่พวกเธอเอามาเล่นในโปรเจคนี้ก็มีเอกลักษณ์มาก เช่นแทนที่จะเป็นกีตาร์ Bloomfield ก็เลือกเล่นเชลโลแทน หรือแทนที่จะเล่นเบส Gebhardt ก็เล่นซีตาร์แทน
….(เนื้อหาหลังจากนี้เกี่ยวกับชีวิตการทำมูลนิธิของทาวาโกลีและเพื่อนสมาชิกในวงของเธอ หากต้องการเพิ่มสามารถหาอ่านได้ในนิตยสาร Drum! ฉบับเดือนกันยายน 2014)
2001 อัลบัม Raining Jane ศิลปิน Raining Jane2004 อัลบัม Careful Confessions ศิลปิน Sara Bareilles
2005 อัลบัม Diamond Jane ศิลปิน Raining Jane
https://itunes.apple.com/us/album/diamond-lane/id45395038
2008 อัลบัม We Sing, We Dance, We Steal Things ศิลปิน Jason Mraz
2008 อัลบัม Paper Nest ศิลปิน Raining Jane
https://itunes.apple.com/us/album/paper-nest/id276875734
2008 อัลบัม Bird’s Eye View ศิลปิน Any Kuney2008 อัลบัม Stop Thinking ศิลปิน Lindsay Mac
2009 อัลบัม Live On Earth ศิลปิน Jason Mraz
2009 อัลบัม How To Rob A Bank ศิลปิน Willy Porter
https://itunes.apple.com/th/album/how-to-rob-a-bank/id315380430
https://itunes.apple.com/th/album/christopher-lockett/id322611835
https://itunes.apple.com/us/album/the-good-match/id468108710
https://itunes.apple.com/th/album/gypsies-clowns-live-at-space/id643810093
2014 อัลบัม Yes! ศิลปิน Jason Marz