“แก ไปดูคอนเสิร์ตกันมั้ย” “ใครเล่นอ่ะ” “วง xxxxxx” “แหง่ะ ไม่เอาอ่ะไม่รู้จัก”
ประโยคเหล่านี้จะหมดไป เมื่อคุณได้รู้จักกับ Sofar Sounds ชุมชนดนตรีที่กำลังขยับขยายไปทั่วโลก ล่าสุดมีถึง 285 เมืองทั่วโลกแล้วที่มีการจัดคอนเสิร์ตแบบนี้ขึ้น! (แอบใบ้ว่าจริงๆ ที่กรุงเทพนี่ก็มีนะจ๊ะ)
Sofar Sounds คืออะไร?
Sofar Sounds คือรูปแบบของการจัดอีเวนท์คอนเสิร์ตที่พยายามสนับสนุนศิลปินในประเทศที่ไม่มีพื้นที่เพียงพอในการเผยแพร่ผลงานตัวเอง โดยคอนเสิร์ตของ Sofar Sounds จะไม่บอกแม้แต่สถานที่จัดงาน หรือ Line-Up วงที่มาเล่น!
ทำไมต้องไม่บอกด้วย?
เพราะ Sofar เชื่อว่าคนที่รักในเสียงดนตรีจริงๆ แม้ว่าจะเป็นวงที่ไม่รู้จักแต่มีความดีงามอยู่ก็พร้อมจะมาดูแล้ว และตัว Sofar เองก็เลือกคัดมาแต่วงที่มั่นใจว่าดีจริงมาให้คนดูได้สัมผัส คืออาศัยความเชื่อในตัวแบรนด์ Sofar ระดับนึงเลยก็ว่าได้
คอนเสิร์ตแต่ละครั้งจะจัดใน “ห้องนั่งเล่น” ในบ้านใครสักคนที่เสนอตัวเข้ามาใน Sofar โดยคนที่อยากมาร่วมงานต้องลงทะเบียนก่อน เพื่อให้ทางทีมงาน Random ส่งแผนที่กลับไปให้จึงจะมาเข้าชมได้ เพราะสถานที่แต่ละที่ก็จำกัดจำนวนคนเข้าได้ไม่เท่ากัน
ถือว่าเป็นรูปแบบที่สนุก และ วิน-วิน-วิน-วิน จริงๆ
ศิลปินวินอะไร?
ภาพจาก Sofar Sounds Bangkok #5 วงศรีราชาร็อกเกอร์
- ศิลปินได้เล่น “เพลงของตัวเอง” ให้กลุ่มคนฟังกลุ่มใหม่ที่มีคุณภาพ ไม่ใช่ฐานแฟนคลับเดิม และเปิดรับดนตรีใหม่ๆ
- คลิปเล่นดนตรีสดในสถานที่สวยๆ พร้อมโปรดักชั่นถ่ายทำและ Sound System ดีๆ อัพโหลดลงใน Channel Youtube ของ Sofar Sounds ที่มี Subscriber กว่า 235,000 คนทั่วโลก!
- มีเวทีใหม่ๆ สำหรับพวกเขากระจายอยู่ทั่วโลก จากที่กิ๊กเคยเป็น Social Media Manager ของ Sofar Sounds Bangkok พบว่า เมื่อศิลปินต่างชาติหลายๆ คนเดินทางมาที่ไทย ก็จะมาหย่อนผลงานไว้ใน inbox ให้เราดู เผื่อจะสนใจให้เขามาเล่นในงาน Sofar ช่วงนั้น (ซึ่งคนดูก็วินนะ อยู่ดีๆ อาจจะได้ดูผลงานเด็ดๆ เลยก็ได้)อย่างของที่ Bangkok เองก็เคยมีศิลปินยุโรปมาเล่นให้ชม เซอร์ไพรส์คนดูซะงั้น!
คนดูวินอะไร?
ภาพจาก Sofar Sounds Bangkok #5 การแสดงของญาณิน
- ไม่ต้องจ่ายค่าเข้า (แต่ค่าเมาแล้วแต่คน)
- ตอนลงทะเบียนคนดูจะสามารถเลือกได้ว่ามาคนเดียวหรือมากับเพื่อน และเนื่องจากเรา Random ส่งคำตอบรับกลับ คนดูก็จะได้มาพบกับกลุ่มคนใหม่ๆ ที่ไม่รู้จักแต่หลงใหลในเสียงดนตรีเหมือนกัน
- บางครั้งการแสดงเด็ดๆ ของศิลปินที่คาดไม่ถึงก็พร้อมโผล่มาเซอร์ไพรส์ได้ทุกเมื่อ! (Lianna La Havas ยังเคยไปเล่นโชว์ใน Sofar London เลยนะเออ)
เจ้าของบ้านวินอะไร?
ภาพจาก Sofar Sounds Bangkok #4 วง Yellow Fang
- มีศิลปินเท่ห์ๆ มาเล่นให้ดูในบ้าน
- เป็นบุคคลที่ทุกคนในงานจะเดินเข้าไปชื่นชมบ้านให้ฟัง 5555
- ไม่รู้แล้วแฮะ ไม่เคยเป็นโฮสต์
เอ้อ…แล้วคนจัดงานวินอะไร?
เหล่าอาสาสมัคร Sofar Sounds Bangkok
- ส่วนใหญ่ทีมงานของ Sofar เป็น Volunteer (อาสาสมัคร) ที่เข้ามาทำงานด้วยใจ
- ไม่วินมันนี่ใดๆ แต่อิ่มใจที่ได้จัดงานดีๆ ให้คนดูและศิลปิน
- (อื้อหือ โคตรสวยเลยนะเอ็ง)
เกริ่นซะนาน ขอเข้าเรื่องละกัน! วันก่อนมีโอกาสได้แวะไปเยี่ยมเยือนบอมเบย์ (เมืองเดียวกับมุมไบ) และก็บังเอิ๊ญบังเอิญที่มีงานของ Sofar Sounds Bombay เกิดขึ้นในช่วงนั้นพอดี!
ด้วยความบังเอิญนี้กิ๊กก็รีบส่งเมล์ไปหาทีมงาน Sofar Bombay บอกว่าเราทำ Sofar BKK นะ มาเที่ยวพอดี อยากทำความรู้จัก Volunteer ของฝั่งนี้ ซึ่งทางนั้นก็รีบตอบเมล์กลับมาว่า ยินดีมากเลย ชวนมานั่งคุยดื่มกันซักรอบ แถมยังแนะนำที่เที่ยวให้ด้วย! *0* ว๊าววว!
โคตรรรรรรดี เคยเป็นแต่คนจัด งานนี้ขอแวบไปเป็นคนดูบ้างเห๊อะ!
หลังจากนั่งตุ๊กๆ เดินเที่ยวในบอมเบย์มาสองวัน ก็ถึงเวลาของเรา! กิ๊กรีบไปถึงงานก่อนเวลา อยากจะเม้าส์อะไรกับเค้าบ้าง เดินเข้าไปนี่อีกโลกจากส่วนอื่นของบอมเบย์ที่เคยเห็นมาก่อนเลย บ้านเอ็งหรูมากอีเจ้าของบ้าน! แถมคนในงานก็เต็มไปด้วยวับรุ่นแต่งตัวแฟชั่นทันยุคสมัยทั้งนั้น
พูดถึงบอมเบย์ เมืองแห่งศิลปะที่มิกซ์ศิลปะวัฒนธรรมของตะวันตกและตะวันออกกลางเข้าด้วยกัน แม้กระทั่งภาษาพูดเขาก็มีหลากหลายคำที่หยิบยืมมาจากภาษาอังกฤษ ชักสงสัย…ดนตรีของที่นี่จะเป็นอย่างไรนะ? วัฒนธรรมการดูดนตรีของที่จะแตกต่างกับที่อื่นๆ ไหม?
เราได้สนทนากับ Volunteer ของที่นี่ สิ่งที่ยากที่สุดในการทำงานที่ Sofar Sounds Bombay คือการหาสถานที่ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเจอสถานที่สวยๆ และเหมาะกับการแสดงดนตรีที่นี่ ที่มีพื้นที่ของคนชนชั้นกลางและล่างมากกว่า
การค้นหาวงดนตรีก็ยากพอกัน เมื่อเราอยากจะค้นหาวงแปลกใหม่ดีๆ มาให้คนอื่นได้ดู วงที่มีอยู่ใน Event ทั่วไปจึงไม่ตอบโจทย์ ต้องวิ่งออกไปตามหากันตามมุมต่างๆ ของเมือง ซึ่งในบอมเบย์ไม่ได้มีร้านกลางคืนที่มีดนตรีสดให้พบเห็นได้มากมายแบบบ้านเรา
และแล้วก็มาถึงวงแรก เป็นวงของคุณลุง Tajdar Junaid เป็นคุณลุงที่โคตรเฟี้ยว มาพร้อมเพื่อนสมาชิกอีก 4 คน คนนึงขนเครื่องดนตรีหน้าตาประหลาดเหมือนแท่งไม้ประติมากรรมแกะสลัก แต่ใช้ไม้สีไวโอลินในการเล่น
เป็นวง Folk Fusion Instrumental ที่มีกลิ่นอายของตะวันออกกลางผสมผสานกันอยู่ มีความหลอนและมนต์สะกดบางอย่างอยู่ในซาวดน์ที่ไม่เหมือน Fusion วงอื่นๆ ที่ได้ดูมาก่อนหน้านี้ (แร่ดไปหาเรื่องเสียตังค์มากับงานอื่นมาก่อนหน้านี้ไง)
จะว่าอวยก็ไม่ใช่นะ ชอบจริงๆ สมกับเป็นวงท้องถิ่น ถ้าไม่ใช่ที่บอมเบย์หาดูโชว์แบบนี้ไม่ได้นะเนี่ย ปรบมือให้คุณลุงสิบที
ต่อด้วยวงที่สอง Run Pussy Run อิบร้าา ชอบชิบหาย ชื่อพี่แกเฟี้ยวมาก แถมพี่แกก็มาแบบโล้นซ่าส์แซ่บเซี๊ยะ มาในฟอร์มของอคูสติก พี่แกร้องโซลดีมาก เสียงหวานประสานกันอยู่สองนาง
เพลงพี่แกแต่ละเพลงก็เต็มไปด้วยไทม์ซิกเนเจอร์แปลกๆ กับมือซินธ์ที่สร้างสีสันและบรรยากาศให้เพลงได้เคลิบเคลิ้มพร่างพริ้ง และเสียงแซ็กที่เซ็กซี่เข้าไปอี๊ก
จบแต่ละเพลง เสียงปรบมือนี่เกรียวกราวมาก เราเองก็หนึ่งในนั้นที่ตบอยู่นั่น ส่งเสียววู้ฮู๊ว วู้ฮู้ววว~
ตบท้ายด้วย Short Round หนึ่งชายหนุ่มอินเดียที่มาพร้อมกีต้าร์หนึ่งตัว เฮียแกดูขี้เก๊กเบาๆ แต่เออเพลงก็เพราะดี (ทำไมแลดูมีความหมั่นไส้ 5555) เป็นวงที่ได้รับอิทธิพลจากดนตรีฝั่งตะวันตกมาก
ช่วงหลังเฮียก็เรียกสาว Mali ขึ้นมาแจม ชีโคตรน่ารักและเสียงหวานใสเหมือนนางฟ้าเลยล่ะ
สังเกตได้ว่า คนดูที่นี่ตั้งใจและโฟกัสกับการแสดงดนตรีมาก นั่งจ้องกันตากลมเป็นแถวเดียว ไม่มีการคุยกันระหว่างโชว์เลย น่ารักสุดๆ
ระหว่างช่วงพัก เราได้ทำความรู้จักกับคนดูหลายๆ คน มีคุณลุงคนนึงดูแก่แล้วล่ะ แกเปนมือกีต้าร์แจ๊สและเปิดผับแจ๊สอยู่ไม่ไกล แกบอกว่ามือคีย์บอร์ดที่เล่นให้วงที่ 2 เดี๋ยวก็ต้องไปเล่นร้านลุงต่อ
“สังคมนักดนตรีที่นี่เล็กมาก” ลุงบอก ก็เนี่ยแหละ กิ๊กก็บอก ก็คล้ายๆ บ้านเราเหมือนกัน แทบจะรู้จักรู้ไส้รู้พุงกันหมด 5555
อีกคนหนึ่งที่น่าสนใจคือสาวแอร์โฮสเตสนอร์เวย์ เธอบอกว่าเธอมักจะลงทะเบียนเข้าชม Sofar Sounds ในเมืองที่จะบินไป เลยได้ไปดูของหลายเมืองมาแล้ว อิฉันนี่ตาร้อน อยากจะไปสมัครเป็นแอร์โอสเตสโดยพลัน!
แถมเธอยังเคยได้เมล์ตอบกลับจาก Sofar New York ให้ไปดูได้ด้วย แต่เจ็ตแล็กไปดูไม่ได้ โอ้โห คือถ้าติดตาม Sofar อยู่บ่อยๆ จะรู้กันว่า Sofar New York นี่คือมีแต่โชว์เด็ดๆ ทั้งนั้น…! คุยไปอิจฉาไป T^T
หนึ่งในโชว์จาก Sofar New York ที่ชอบมาก
ปัจจุบันนี้ในอินเดียมี Sofar Sounds อยู่ใน 5 เมืองใหญ่ๆ ทั้งบอมเบย์ นิวเดลี บังกาลอร์ อาเมดาบัด และเชนไน ที่บอมเบย์ก็จัดติดต่อกันมา 6 เดือน 6 ครั้งแล้ว ด้วย Volunteer เพียง 8 คนเท่านั้น…! *-*
ที่นี่ Volunteer ไม่ต้องเตรียมอาหารหรือเครื่องดื่มให้ เพราะในบัตรเชิญต่างก็ระบุอยู่แล้วว่าถ้าคุณอยากดื่มหรือกินอะไรให้เตรียมมาเองหรือเอามาแบ่งคนอื่นๆ ในงานก็ได้ เป็นสิ่งที่น่ารักและได้ทำความรู้จักกับคนข้างๆ ^^
ก่อนกลับ เราได้รับโปสเตอร์พร้อมชื่อวงที่มาในวันนี้กลับไปด้วย เป็นหนึ่งในเซอร์วิสที่บอมเบย์คิดขึ้นมาซึ่งน่ารักมากเลย
Credit ภาพจาก Sofar Sounds Bombay ^^
เราว่าความรู้สึกดีของการเป็น Volunteer ที่แม้จะไม่มีใครเห็นหน้าค่าตาโผล่ในคลิปตัวไหน คือเราได้ร่วมทำให้ทุกคนในงานได้แบ่งปันสิ่งดีๆ ต่อกันไป
เราสัมผัสความรู้สึกของ Volunteer Bombay ได้ว่าความรู้สึกตอนงานลุล่วงแล้วแขกทุกคนเดินมาขอบคุณ มันปลื้มปริ่มใจไม่ต่างกัน
และไม่ว่าเราจะมาจากประเทศไหน ดนตรีก็เป็นตัวกลางสำคัญให้เราเชื่อมต่อกันได้เสมอ
Thanks for having me Sofar Sounds Bombay! 🙂
Volunteer Bombay & Volunteer Bangkok
ถ้าใครอยากลองไปสัมผัสประสบการณ์แบบนี้ ติดตามตาราง Gigs ใหม่ๆ ได้ที่ https://www.sofarsounds.com/
หรือถ้าลงทะเบียน Subscribed เอาไว้ทาง Sofar ก็จะส่งมาให้ในอีเมลทุกเดือนเลยจ้า ^^
สามารถเข้าไปชมคอนเสิร์ต Sofar ของทุกประเทศทั่วโลกได้ที่ Youtube Channel นี้เลย https://www.youtube.com/user/Sofarsounds
หากใครสนใจจะเป็นผู้จัด Sofar ในเมืองตัวเอง ก็สามารถส่งเข้าไปสอบถามได้ที่ Website เหมือนกันนะคะ เมืองเดียวไม่จำเป็นต้องมีเพียงทีมเดียวค่ะ ตราบใดที่เราพยายามสร้างสรรค์สิ่งที่ดีเหมือนๆ กัน 🙂
เย่ะ!
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรีได้เรื่อยๆ ที่ www.foofoo.me นะคะ ^^
หรือเข้าไปที่ Facebook Fanpage ก็ได้ www.facebook.com/kickyfoofoo